Smile

5 ความเสี่ยงจากการมีฟันสบแบบเปิด (Open Bite)

การจัดฟันไม่ได้ช่วยเเค่เรื่องความสวยงาม แต่ยังช่วยป้องกันการสึกหรอ และสุขภาพช่องปากทั้ง ฟันบน, ขากรรไกร, หรือเหงือก หากมีช่องว่างที่เห็นได้ระหว่างฟันบน ขากรรไกร และเหงือก นั่นหมายความว่าเราอาจจะมีฟันสบแบบเปิด 

 

การจัดฟันแบบใสสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เพื่อป้องกันปัญหาในการเคี้ยวหรือพูด ซึ่งส่งผลต่อบุคคลิกภาพโดยตรง

 

ประเภทของฟันสบแบบเปิด (Open Bite)

ทันตแพทย์จะตรวจสอบว่าฟันบนและล่างของเราสบเข้ากันได้ดีหรือไม่ โดยจะสังเกตด้านหน้าและด้านข้างของช่องปากเมื่อเราอ้าปาก

 

ในกรณีที่ฟันบนและฟันล่างนั้นไม่สบเข้าหากัน และจะเกิดช่องว่าง ซึ่งจะทำให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกัน 

 

ประเภทของฟันสบนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

ฟันสบแบบเปิดด้านหน้า (Anterior Open Bite)

 

 

(การแสดงภาพฟันสบแบบเปิดด้านหน้า)

 

ฟันสบแบบเปิดด้านหน้า (Anterior Open Bite) เกิดขึ้นเมื่อฟันแถวบนและล่างไม่สบทับกัน เราสังเกตลักษณะของฟันสบแบบเปิดด้านหน้า (Anterior Open Bite) ได้โดยการยิ้ม หรือ กัดฟัน ซึ่งฟันหน้าบนและล่าง จะไม่สัมผัสกันแม้ปากเราจะปิดอยู่ก็ตาม แต่ฟันด้านหลังกลับมีการสัมผัสกับฟันบนเมื่อเรารับประทานอาหาร หรือกัดฟัน

 

ฟันสบแบบเปิดด้านหลัง (Posterior Open Bite)

 

(การแสดงภาพฟันสบแบบเปิดด้านหลัง Posterior Open Bite)

 

ฟันสบแบบเปิดด้านหลัง (Posterior Open Bite) เกิดขึ้นเมื่อฟันด้านหลังไม่สัมผัสกันเมื่อกัดฟัน

ฟันสบแบบเปิดด้านหลัง (Posterior Open Bite) จะทำให้มีช่องว่างระหว่างฟันบนและฟันล่างด้านหลัง โดยทันตแพทย์สามารถตรวจสอบฟันสบแบบเปิดด้านหลังได้ โดยการตรวจสอบฟันด้านหลังมีการสัมผัสกันหรือไม่ เมื่อมีการกัดหรือเคี้ยว

 

สิ่งที่บ่งชี้ว่าเราอาจมี ฟันสบแบบเปิดด้านหน้า (Anterior Open Bite)  หรือ ฟันสบแบบเปิดด้านหลัง (Posterior Open Bite) คือ:

 

– เคี้ยวหรือกัดยาก

– หายใจทางปากอยู่บ่อย ๆ

– ฟันด้านหน้าเอียงหรือฟันแน่นเกินไป

– ลิ้นถูกดันออกมาระหว่างการพูด

ฟันสึกหรอมาก

 

ความเสี่ยงจากการมีฟันสบแบบ เปิด หรือ ปิด (Open Bite)

  1. ฟันเสียหาย

การมีฟันสบแบบเปิดทำให้การกัดของฟันด้านหน้ากลายเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ฟันด้านหลังของเราจะเพิ่มแรงกัดขึ้น ส่งผลให้ความเสียหายจะกระจายไปถึงฟันที่ได้รับผลกระทบใกล้เคียง โดยจะทำให้ฟันโดยรอบนั้น สึกหรอและแตก รวมถึงปัญหาเหงือกต่าง ๆ ที่ตามมา

 

  1. โรคปริทันต์

โรคปริทันต์ หรือ โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontal disease) หรือที่เรียกกันว่า
โรครำมะนาด คือโรคที่อวัยวะรอบ ๆ ฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดฟัน กระดูกเบ้าฟัน ผิวรากฟัน เกิดการติดเชื้อและอักเสบ สาเหตุของโรค คือการสะสมของคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคที่ปะปนในน้ำลาย ลักษณะจะเป็นเมือกใส และกลายเป็นคราบสีขาวอยู่ตามกระพุ้งเเก้ม สมาคมทันตแพทย์สหรัฐอเมริกาอธิบายว่าคนที่มีฟันสบแบบเปิด (Anterior Open Bite)  โดยทั่วไปแล้วจะหายใจผ่านทางปาก ซึ่งอาจทำให้ริมฝีปากแห้ง จึงเป็นที่ที่เหมาะสำหรับเชื้อแบคทีเรียเติบโต ทำให้คุณเสี่ยงต่อโรคปริทันต์อักเสบ

 

  1. ปัญหาข้อต่อในกระดูกขากรรไกร

การมีฟันสบแบบเปิด (Open Bite) จะทำให้ขากรรไกรเกิดการเคลื่อนไหวเมื่อเราพูด, เคี้ยว, รวมถึงหายใจ การให้แรงกดที่กระดูกขากรรไกรซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดปัญหาในข้อต่อของกระดูกขากรรไกร จากน้ำหนักที่กดทับมากจนเกินไป และจะทำให้เกิดอาการต่างๆได้ เช่น:

– ปวดขากรรไกร

– ปวดหัว

– ปวดใบหน้า และลำคอ

– เสียงดังหรือเสียงป๊อป ระหว่างการเคลื่อนไหวของขากรรไกร

– ขากรรไกร “ติด/ค้าง” เมื่อเปิดปาก หรือปิดปาก

 

  1. ปัญหาในการพูด

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยวารสาร Face นักภาษาศาสตร์ตรวจสอบบุคคลที่มี ฟันสบแบบเปิด หรือ ปิด (Open Bite) พบว่ามีปัญหาในการออกเสียงเวลาพูด

การวิจัยอธิบายว่า การออกเสียงพยัญชนะขึ้นอยู่กับการประสานงานระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ผ่านโครงสร้างทางปากไปจนถึงลิ้นและฟัน เมื่อส่วนเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งหรือรูปร่างที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดปัญหาในการพูด เช่น ความยากลำบากในการออกเสียงบางคำ

 

  1. ปัญหาสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร

การเคี้ยวที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ ในการทำให้อาหารถูกบดเคี้ยวอย่างละเอียด ซึ่งช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร ผู้ที่มีฟันสบแบบเปิด หรือ ปิด (Open Bite) อาจจะมีปัญหาทางด้านระบบทางเดินอาหาร คือ อาการท้องบวม เพราะร่างกายต้องดูดซึมสารอาหารได้อย่างยากลำบาก จากอาหารที่ถูกย่อยลงมาอย่างไม่ละเอียด

 

References: 

www.beseenhub.com

Australia, O. (2022, June 10). How Are Teeth Supposed to Sit for a Perfect Bite? Orthodontics Australia. https://orthodonticsaustralia.org.au/ideal-bite/ 

Australia, O. (2023, March 8). Open Bite Problems & Orthodontic Treatment. Orthodontics Australia. https://orthodonticsaustralia.org.au/open-bite-problems-and-orthodontic-treatment/#What_is_an_open_bite 

Gutierrez, D. S. (2023, March 19). Thumb Sucking. StatPearls – NCBI Bookshelf. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK556112/ 

Huang, W., Shan, B., Ang, B. S., Ko, J. S., Bloomstein, R. D., & Cangialosi, T. J. (2020). Review of Etiology of Posterior Open Bite: Is There a Possible Genetic Cause?. Clinical, Cosmetic and Investigational Dentistry, Volume 12, 233–240. https://doi.org/10.2147/ccide.s231670 

Keyser, M., Lathrop, H., Jhingree, S., Giduz, N., Bocklage, C., Couldwell, S. M., Oliver, S., Moss, K., Frazier-Bowers, S. A., Phillips, C., Turvey, T. A., Blakey, G. H., White, R., Zajac, D. J., Mielke, J., & Jacox, L. A. (2022). Impacts of Skeletal Anterior Open Bite Malocclusion on Speech. FACE, 3(2), 339–349. https://doi.org/10.1177/27325016221082229 

Kina, J. R., Kina, J., Kina, M., & Kina, E. F. U. (2016). Open Bite Malocclusion as potential Predisposing Risk Factor to Promote Periodontal Disease. Journal of Orthodontics & Endodontics, 02(03). https://doi.org/10.21767/2469-2980.100028 

Lin, L., Zhao, T., Qin, D., Hua, F., & He, H. (2022). The impact of mouth breathing on dentofacial development: A concise review. Frontiers in Public Health, 10. https://doi.org/10.3389/fpubh.2022.929165 

Ngan, P., & Fields, H. W. (1997). Open bite: a review of etiology and management. Pediatric dentistry, 19(2), 91–98. Open bite: a review of etiology and management – PubMed (nih.gov) 

Paolantonio, E. G., Ludovici, N., Saccomanno, S., La Torre, G., & Grippaudo, C. (2019). Association between oral habits, mouth breathing and malocclusion in Italian preschoolers. European Journal of Paediatric Dentistry, Vol. 20/3-2019. EJPD_2019_20_3_7.pdf 

 

 

สามารถประเมินการรักษาด้วยตัวเองได้ผ่านเว็บไซต์ หรือสอบถามเพิ่มเติมผ่านทาง Line Official ได้เลยที่ @ClearCorrect (มี @ ด้วย) หรือโทร. 02-109-1234

Tags :
Share This :