วิธีแก้ไขฟันบนยื่นด้วยการจัดฟันแบบใส 

หากคุณเคยโดนล้อเลียนว่า “ฟันเหมือนกระต่ายเลย” เพราะฟันหน้าของคุณนั้นยื่นยาวออกมาจนดูโดดเด่นเกินไป แน่นอนว่าการถูกล้อเลียนตั้งแต่เด็กมักส่งผลต่อความมั่นใจเมื่อโตขึ้น  ถึงเวลาแล้วที่จะเพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้มของคุณด้วยการจัดฟัน

 

ฟันยื่น (Overjet) คืออะไร? 

 
 
ทันตแพทย์ของคุณสามารถให้การวินิจฉัยอาการฟันยื่นของคุณได้
 
ฟันที่เราเรียกกันว่าฟันกระต่าย” คือ การสบฟันที่ผิดปกติหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ฟันสบลึก (deep bite) ซึ่งหมายความว่า เวลาที่กัดหรือฟันสบกัน ฟันบนของคุณมาทับฟันล่างมากเกินไป สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศออสเตรเลียกล่าวว่า การมีฟันสบลึกนั้นมักมีสาเหตุมาจากการมีขากรรไกรล่างที่เล็กกว่าขากรรไกรบน ทำให้ฟันบนยื่นออกมาข้างหน้าอย่างเห็นได้ชัด ในบางครั้งการสูญเสียฟันล่างหรือการกัดที่แรงเกินไป  ก็สามารถนำไปสู่สาเหตุของฟันสบลึกได้

 

สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งออสเตรเลีย ระบุว่าฟันยื่นโดยทั่วไปจะมีระยะอยู่ที่ 2-3 มิลลิเมตร หากคุณมีฟันที่สบลึก ฟันหน้าบนจะครอบฟันล่างมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด และในบางกรณีที่รุนแรง ฟันบนสามารถครอบฟันล่างลึกลงไปได้ถึงเหงือก

 

แม้ว่าจะสามารถสังเกตฟันยื่นได้เด่นชัดเวลาที่ส่องกระจก แต่จะมีเพียงทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่สามารถให้การวินิจฉัยที่ชัดเจนถึงปัญหาของการเกิดฟันยื่น โปรดติดต่อขอข้อมูลจากทันตแพทย์เกี่ยวกับรูปแบบฟันที่คุณมีเพื่อที่จะสามารถปกป้องสุขภาพช่องปากจากความผิดปกติที่เกิดขึ้น

 

 

ทำไมถึงควรรักษาฟันยื่น (Overbite Treatment) 

 

ฟันที่ยื่นมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพฟันเรื้อรัง หากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา

ฟันยื่นเป็นปัญหาที่พบบ่อยได้ทั่วโลก วารสารด้านทันตกรรมจากอังกฤษอย่าง Dental Press Journal of Orthodontics ได้ทำการสำรวจเด็กและผู้ใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร อินเดีย และบางประเทศในยุโรป รวมถึงแอฟริกา พบว่าเกือบ 22% ของคนเหล่านี้มีฟันที่ยื่นเกินไป และไม่ได้พยายามรักษาอาการนี้ด้วยเช่นกัน

 

วารสารทันตกรรมของอังกฤษ อธิบายปัญหาของการละเลยการจัดฟันไว้ว่า ปัญหาของฟันยื่นส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไรที่สร้างผลข้างเคียง ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงละเลยการรักษาจนกว่าฟันจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์อย่างรุนแรง 

 

แต่ทำไมต้องแก้ไขปัญหาฟันยื่นตั้งแต่แรก  การรักษาฟันยื่นนี้ไม่ใช่แค่การเสริมสร้างรอยยิ้มที่สวยงามเท่านั้น The ASO หรือ สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศออสเตรเลีย ให้คำเตือนว่าการกัดในขณะที่มีฟันยื่นอาจเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ฟันสึก หรือกระทบกันจนเหงือกเสียหายได้ ฟันที่ยื่นออกมายังมีแนวโน้มที่จะเกิดการบิ่น และช่องปากได้รับบาดเจ็บในรูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้แล้ว การเผลอกัดเพดานปากจากฟันล่างที่ถูกฟันบนครอบอยู่ อาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก ส่งผลกระทบให้การทำกิจกรรมประจำวัน เช่น การกิน และการดื่ม เป็นสิ่งที่ลำบากมากขึ้น ในส่วนของการพูดเมื่อคุณออกเสียง “ซ-โซ่” และ “ช-ช้าง” คุณจะสามารถออกเสียงได้ยากกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาพูดไม่ชัดเกิดขึ้น

 

การสบฟันในอุดมคติคืออะไร?

 

โดยปกติแล้ว ฟันบนควรคร่อมทับฟันล่างประมาณ 20% เพื่อความสวยงาม และการเคี้ยวที่สมบูรณ์ ASO อธิบายว่า หากคุณมองจากด้านหน้า ขอบของฟันบนควรอยู่ในแนวเดียวกับส่วนโค้งของริมฝีปากล่าง ซึ่งต้องอาศัยการวินิจฉัยจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โปรดติดต่อขอข้อมูลจากทันตแพทย์เกี่ยวกับรูปแบบฟันที่คุณมีเพื่อที่จะสามารถปกป้องสุขภาพช่องปากจากความผิดปกติที่เกิดขึ้น

 

เราจะสามารถแก้ไข Overbite ให้ดีขึ้นได้อย่างไร?

 

 

เราสามารถแก้ไขฟันยื่นได้หรือไม่? การมีฟันที่ยื่นที่มากเกินไปถือเป็นปัญหาของสุขภาพในช่องปาก คุณควรได้รับการแก้ไขโดยการจัดฟัน หรือการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูก จากการแนะนำของ Journal of Dentistry

 

จะใช้เวลานานแค่ไหน ในการแก้ปัญหาฟันยื่น ด้วยเครื่องมือจัดฟันใส?

 

ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงความรุนแรงของอาการ คำเตือนจากวารสารวิชาการด้านทันตกรรมอย่างDental Update Journal ระบุว่าอุปกรณ์จัดฟันแบบใสที่สามารถใส่หรือถอดได้นั้น คนไข้จำเป็นต้องมีระเบียบวินัย และการปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเหมาะสมในการรักษา เพื่อเพิ่มโอกาสให้การจัดฟันใสประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น หากต้องการผลลัพธ์ที่ตรงตามเวลาในแผนการรักษา ควรใส่เครื่องมือจัดฟันใสอย่างน้อย 22 ชั่วโมงต่อวัน์ พบทันตแพทย์ตามการนัดหมาย และปฏิบัติตามคำแนะนำจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

การจัดฟัน ช่วยเพิ่มความมั่นใจได้จริงหรือไม่? 

 

 
 
งานวิจัยจากนิตยสารทันตกรรมจัดฟันอย่าง The Angleเน้นย้ำว่าการสบฟันที่ผิดปกติ จะส่งผลเสียต่อชีวิตของคนไข้ ทั้งด้านอารมณ์และจิตใจ การศึกษาค้นพบอีกว่าการจัดฟันนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาให้กับผู้ป่วยทางทางสุขภาพช่องปาก และจิตใจ มากถึง 71%
เพราะทำให้คนไข้มีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น พร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใน
6 เดือน นับจากการเริ่มการรักษา
 
 
คนไข้ส่วนใหญ่ถึง 97% พอใจกับรอยยิ้มมากขึ้น 82% ได้รับการยอมรับจากสังคมที่มากขึ้น และ 80% รายงานว่าความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างดีขึ้น เพราะคุณสมควรได้รับรอยยิ้มที่ดีต่อสุขภาพ ให้ ClearCorrect® ช่วยทำให้คุณมั่นใจในรอยยิ้ม และมีสุขภาพฟันที่ดี เพราะเครื่องมือจัดฟันใส ClearCorrect® เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆของผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรมทั่วโลก ที่ออกแบบมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ เราส่งมอบนวัตกรรม เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นจากความเชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรม เพื่อรอยยิ้มที่มั่นใจมากกว่าที่เคย

 

สามารถประเมินการรักษาด้วยตัวเองได้ผ่านเว็บไซต์ หรือสอบถามเพิ่มเติมผ่านทาง Line Official ได้เลยที่ @ClearCorrect (มี @ ด้วย) หรือโทร. 02-109-1234

 

Alhammadi, M. S., Halboub, E., Fayed, M. M. S., Labib, A., & El-Saaidi, C. (2018). Global distribution of malocclusion traits: A systematic review. Dental Press Journal of Orthodontics, 23(6), 40.e1-40.e10.

Baum, A. (2023). What is a Deep Bite? American Association of Orthodontists.

Beddis, H. P., Durey, K., Alhilou, A., & Chan, M. F. W. (2014). The restorative management of the deep overbite. British Dental Journal, 217(9), 509–515.

De Couto Nascimento, V., De Castro Ferreira Conti, A. C., De Almeida Cardoso, M., Valarelli, D. P., & De Almeida-Pedrin, R. R. (2016). Impact of orthodontic treatment on self-esteem and quality of life of adult patients requiring oral rehabilitation. Angle Orthodontist, 86(5), 839–845.

Elhussein, M., & Sandler, J. (2018). Fixed versus removable appliances – which one to choose? Dental Update.  

Fattahi, H. (2014, November 1). Skeletal and Dentoalveolar Features in Patients with Deep Overbite Malocclusion. PubMed Central (PMC).

Types of orthodontic problems you should look out for in your kids – Australian Society of Orthodontists. (n.d.).

Why orthodontic treatment? – Australian Society of Orthodontists. (n.d.).

Wiedel, A., & Bondemark, L. (2014). Fixed versus removable orthodontic appliances to correct anterior crossbite in the mixed dentition–a randomized controlled trial. European Journal of Orthodontics, 37(2), 123–127.  

Tags :
Share This :