ฟันซ้อน (Crowding) คืออะไร?

 

 

ฟันซ้อนเป็นภาวะที่ฟันไม่สามารถงอกตรงและพอดีกับกรามได้เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอกับขนาดของฟันที่ขึ้นมาใหม่ ฟันที่ขึ้นมาไม่เรียงตัวตรงตามแนวขากรรไกร จึงทำให้เกิดการซ้อนกับฟันซี่อื่น ๆ

 

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรามีฟันซ้อน?

Journal of Orthodontic Science ได้กล่าวถึงฟันซ้อนว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบฟันที่พบมากที่สุดในโลก เพราะสามารถมองเห็นได้ง่าย ปรากฎทั้งในรูปแบบที่บิดเบี้ยวและเรียงไม่ตรง ซึ่งส่งผลต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน

 

สาเหตุของฟันซ้อนคืออะไร?

จากข้อมูลของสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศออสเตรเลีย  โดยส่วนใหญ่ฟันซ้อนมักเกิดจากพันธุกรรม  ซึ่งมีสาเหตุจากการมีขากรรไกรที่เล็กเกินกว่าที่จะรองรับฟันทั้งชุด หรือ การที่ขากรรไกรไม่ได้วางตัวตามแนวที่ถูกต้อง ส่งผลเกิดการกระจุกตัวของเบ้าฟัน เมื่อฟันขึ้นจึงเกิดการซ้อนและเกยทับ

 

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีพฤติกรรมบางอย่างส่งผลให้ฟันไม่เรียงตัวตามแนวที่ถูกต้อง เช่น การดูดนิ้ว การใช้ลิ้นดันฟัน รวมไปถึงการดูแลรักษาช่องปากที่ไม่เหมาะสม ก็ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดฟันซ้อนได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น

  1. การสูญเสียฟันก่อนวัยอันควร
  2. ฟันน้ำนมที่ยังอยู่ค้างมากจนเกินไป (วัยเด็ก)
  3. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับฟันมาตั้งแต่กำเนิด

 

ระดับความรุนแรงของฟันซ้อน

 

Journal of Orthodontic Science ได้ทำการแบ่งประเภทของฟันซ้อนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. ฟันซ้อนเล็กน้อย: ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งฟันอยู่ภายใน 1-3 มม.
  2. ฟันซ้อนปานกลาง: ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งฟันอยู่ภายใน 4-6 มม.
  3. ฟันซ้อนรุนแรง: ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งฟันมากกว่า 6 มม.

 

คุณจะสังเกตอาการของฟันซ้อนด้วยตัวเองได้อย่างไร? วิธีที่ง่ายที่สุดคือการเช็คหน้ากระจกและดูการเรียงตัวของฟันว่าฟันเหลื่อมกันหรือไม่ และเข้าไปปรึกษากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

  ฟันซ้อนจะมีความรุนแรงขึ้นหรือไม่เมื่ออายุมากขึ้น?เป็นไปได้ว่าฟันซ้อนนั้นอาจจะมีความรุนแรงขึ้นเมื่ออายุมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น กระดูกขากรรไกรแคบ ทำให้ฟันขึ้นซ้อนและทับเกกัน หรือการที่ขากรรไกรมีการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่มากขึ้น

 

ความเสี่ยงด้านสุขภาพช่องปากจากการมีฟันที่ซ้อนกัน

 

 

การมีฟันซ้อนอาจทำให้เกิดการสะสมของคราบพลัค
(คราบจุลินทรีย์ในช่องปาก มีสีเหลือง มีลักษณะเหนียว ที่เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่ถูกต้อง) และทำให้เกิดฟันผุได้

 

ฟันซ้อนไม่ใช่แค่ปัญหาในเรื่องของความสวยงามเท่านั้น Straumann บริษัทด้านรากฟันเทียมอันดับ 1 ของโลกได้เตือนว่า อาการดังกล่าวเป็น “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพฟันพังทลายเมื่อเวลาผ่านไป ฟันที่ทับซ้อนกันจะยากต่อการรักษาความสะอาด และสามารถสร้างปัญหาในการบดเคี้ยวอาหารได้

 

มากไปกว่านั้นการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยวารสารระดับโลกเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีอย่าง“IOPscience” ยังยืนยันว่าการที่มีฟันทับซ้อนกัน ถือเป็นความท้าทายในการรักษาสุขอนามัยในช่องปากเมื่อแปรงฟัน เนื่องจากช่องว่างระหว่างฟันที่แคบและมีการทับซ้อนกัน จะทำให้ยากต่อการจำกัดเศษอาหารที่อาจเกาะตามซอกฟัน จึงเพิ่มโอกาสที่จะเกิดปัญหาภายในช่องปากได้ ตัวอย่างเช่น:

  1. การสะสมของคราบพลัค (คราบจุลินทรีย์ในช่องปาก มีสีเหลือง มีลักษณะเหนียว ที่เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่ถูกต้อง)
  2. การก่อตัวหินปูน
  3. ฟันผุ
  4. โรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์

 

การจัดฟันสามารถแก้ไขฟันซ้อนได้หรือไม่?

 

เครื่องมือจัดฟัน อุปกรณ์จัดฟันแบบใส สามารถช่วยแก้ไขฟันที่ทับซ้อนกันได้

 

ทันตแพทย์ที่ทำการรักษาจะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยจะขึ้นอยู่กับระดับความซ้อนกันของฟันคุณ และปัจจัยอื่น ๆ ตัวอย่างเช่นการรักษาดังต่อไปนี้:

 

  1. อุปกรณ์จัดฟันแบบใส (Clear Aligner) – เช่น จัดฟันใสClearCorrect เครื่องมือจัดฟันใสที่จะช่วยแก้ปัญหาฟันของคุณได้ตรงจุด ฟันของคุณจะค่อยๆ เข้าเรียงตัวไปตามแผนการรักษาที่คุณและทันตแพทย์ได้ออกแบบไว้
  2. ฟันปลอมแบบถอดได้ – ตัวซี่ฟันปลอมทำด้วยพลาสติกหรือคอมโพสิต มีสีเหมือนฟันธรรมชาติ และมีฐานที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ โดยจะวางบนสันเหงือกหรือเพดานปาก เพื่อช่วยในการบดเคี้ยวหากสูญเสียฟันไป
  3. อุปกรณ์ขยายเพดานปาก – เครื่องมือที่ช่วยขยายขากรรไกรบนของเด็กและวัยรุ่น
  4. เครื่องมือจัดฟันด้านใน แบบซ้อนเครื่องมือ – อุปกรณ์จัดฟันที่ติดอยู่ด้านหลังของผิวฟัน

 

 

 เมื่อไหร่ที่จำเป็นต้องถอนฟัน

 

 จากการศึกษาของ The Angle Orthodontist พบว่า ในกรณีที่มีฟันซ้อนมากอาจต้องรักษาด้วยการถอนฟันซึ่งจะช่วยสร้างพื้นที่ให้สามารถจัดตำแหน่งฟันได้อย่างเหมาะสม ทำให้การสบฟันดีขึ้น และถอนเอาฟันที่ไม่จำเป็นออกไป

 

 ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถอนฟันก่อนเริ่มการจัดฟัน เนื่องจากปัญหาฟันผุหรือเสียหาย เพื่อให้ผลลัพธ์การจัดฟันและสุขภาพช่องปากดียิ่งขึ้น หรือบางครั้งพวกเขาจะแนะนำให้ถอนฟันหลังจากการจัดฟันเสร็จสิ้นเพื่อป้องกันปัญหาฟันเคลื่อน

 

ท้ายที่สุดแล้ว การตัดสินใจถอนฟันขึ้นอยู่กับสภาวะและความเต็มใจที่จะรับการรักษาของคุณ ทันตแพทย์จะพิจารณาทางเลือกอื่นๆ ก่อนที่จะสรุปว่าการถอนฟันนั้นจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาฟันซ้อน และวางใจได้ว่าทันตแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้กับคุณ เพื่อให้คุณยิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง!

 

สามารถประเมินการรักษาด้วยตัวเองได้ผ่านเว็บไซต์ หรือสอบถามเพิ่มเติมผ่านทาง Line Official ได้เลยที่ @ClearCorrect (มี @ ด้วย) หรือโทร. 02-109-1234

 

 

References:

Alqutub, A. W. (2021). Pain Experience after Dental Implant Placement Compared to Tooth ExtractionInternational Journal of Dentistry2021, 1–5.  

Australia, O. (2023, March 8). Dental crowding: causes and treatment options. Orthodontics Australia.

Bahirrah, S. (2018b). Relationship of crowded teeth and Oral Hygiene among urban population in MedanIOP Conference Series126, 012188.

Cardoso, C. a. L., Valerio, C. S., De Carvalho Carmelo, J., Rodrigues, L. G., Silva, A. I. V., & Manzi, F. R. (2022). Impact of orthodontic correction of dental crowding with pre-molar extraction in the anterior mandible evaluated by cone-beam computed tomographyJournal of Orthodontic Science11(1), 47.  

Crowded Teeth. (n.d.). Straumann.

Department of Health & Human Services. (n.d.-c). Orthodontic treatment. Better Health Channel.

Filho, H. L., Maia, L. H. E. G., Lau, T. C. L., De Souza, M. M. G., & Maia, L. C. (2014). Early vs late orthodontic treatment of tooth crowding by first premolar extraction: A systematic reviewAngle Orthodontist85(3), 510–517.  

Jadidi, L. A., Sabrish, S., Shivamurthy, P. G., & Senguttuvan, V. (2018). The prevalence of malocclusion and orthodontic treatment need in Omani adolescent populationJournal of Orthodontic Science7(1), 21.  

Peck, S. (2017). Extractions, retention and stability: the search for orthodontic truthEuropean Journal of Orthodontics39(2), 109–115.  

Turner, S., Harrison, J. E., Sharif, F. N. J., Owens, D., & Millett, D. T. (2021). Orthodontic treatment for crowded teeth in childrenThe Cochrane Library2022(1).

Why are my child’s teeth crooked? – Australian Society of Orthodontists. (n.d.).  

Tags :
Share This :